การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

ขั้นตอนการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์  แบบฉบับ ฟ้า เฟรช ฟาร์ม คลิกที่นี่ครับ


ไฮโดรโปนิกส์  ( Hydroponics) คือ เป็นการปลูกพืชโดยไม่ใช้ดิน นับเป็นวิธีการใหม่ในการปลูกพืช โดยเฉพาะการปลูกผักและพืชที่ใช้เป็นอาหาร เนื่องจากประหยัดพื้นที่ และไม่ปนเปื้อนกับสารเคมีต่างๆ ในดิน ทำให้ได้พืชผักที่สะอาดเป็นอาหาร ปัจจุบันนี้ในเทคนิคการปลูกพืชแบบไร้ดินหลายแบบด้วยกัน
นักวิจัยด้านเมตาบอลิซึมของพืชได้ค้นพบว่าพืชจะดูดซึมสารอาหารมาเป็นไอออนในน้ำ ซึ่งมีโครงสร้างไม่ซับซ้อน ในสภาพตามธรรมชาตินั้น ดินจะทำหน้าที่เป็นแหล่งสารอาหาร แต่ดินเองนั้นไม่จำเป็นต่อการเติบโตของพืช เมื่อสารอาหารในดินละลายไปกับน้ำ รากของพืชก็จะสามารถดูดซึมสารอาหารนั้นได้ เมื่อใส่สารอาหารที่จำเป็นสำหรับพืชไว้ในแหล่งน้ำที่สร้างขึ้น ก็ไม่จำเป็นต้องใช้ดินเพื่อเป็นแหล่งอาหารของพืชอีกต่อไป พืชส่วนใหญ่จะเติบโตด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ได้ แต่เติบโตได้ดีมากน้อยแตกต่างกัน การปลูกพืชไร้ดินนี้ทำได้ง่าย สะดวก และประหยัดพื้นที่ แต่ต้องมีอุปกรณ์ที่จำเป็น นั่นคือสารอาหารสำหรับพืชที่ละลายอยู่ในน้ำแล้ว 

ประโยชน์ของการปลูกพืชไร้ดิน ไฮโดรโปนิกส์นั้นมีประโยชน์หลักๆ 2 ประการด้วยกัน ประการแรกคือช่วยให้มีสิ่งแวดล้อมที่ควบคุมได้มากขึ้นสำหรับการเติบโตของพืช แทนที่จะเป็นการใช้ดินอย่างเดิม ทำให้กำจัดตัวแปรที่ไม่ทราบออกไปจากการทดลองได้จำนวนมาก ประการที่สองก็คือ พืชหลายชนิดจะให้ผลผลิตได้มากในเวลาที่น้อยกว่าเดิม และบางครั้งก็มีคุณภาพที่ดีกว่าเดิมด้วย ซึ่งในสภาพแวดล้อมและสภาพการเศรษฐศาสตร์หนึ่งๆ การปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์จะให้ผลกำไรแก่เกษตรกรได้มากขึ้น และด้วยการปลูกที่ไม่ใช้ดิน จึงทำให้พืชไม่มีโรคที่เกิดในดิน ไม่มีวัชพืช และไม่ต้องจัดการดิน และยังสามารถปลูกพืชใกล้กันมากได้ ด้วเหตุนี้พืชจึงให้ผลผลิตในปริมาณที่มากกว่าเดิม ขณะที่ใช้พื้นที่จำกัด นอกจากนี้ยังมีการใช้น้ำน้อยมาก เพราะมีการใช้ภาชนะหรือระบบวนน้ำแบบปิด เพื่อหมุนเวียนน้ำ เมื่อเทียบกับการเกษตรแบบเดิมแล้ว นับว่าใช้น้ำเพียงส่วนน้อยนิดเท่านั้น
ด้วยคุณภาพที่กล่าวมาข้างต้น ทำให้ไฮโดรโปนิกส์มีประโยชน์กับการปลูกพืชที่ไม้ใช่วิธีการแบบเดิมๆ นักเขียนนิยายวิทยาศาสตร์ ได้เสนอมานานแล้วว่า ไฮโดรโปนิกส์จะทำให้สถานีอวกาศ หรือ ยานอวกาศ สามารถปลูกพืชไร้ดินได้เอง และคุณสมบัติดังกล่าวนี้ทำให้ไฮโดรโปนิกส์เหมาะอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่ต้องการปลูกพืชโดยการการควบคุมปัจจัยที่เกี่ยวข้องได้มากที่สุด และมีความหนาแน่นสูงสุด

NFT (Nutrient Film Technique)

การให้สารละลายผ่านรากพืชเป็นแผ่นบางๆ (Nutrient Film Technique) เป็นเทคนิคที่ได้รับความสนใจอย่างมาก เป็นการปลูกพืชโดยรากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ (หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร) 

การเพาะเมล็ดด้วยฟองน้ำ

 
นำแผ่นฟองน้ำใส่ลงไปในกระบะเพาะตามจำนวนก้อนฟองน้ำที่เราต้องการจะเพาะเมล็ดหรือเกินจำนวนไว้สักเล็กน้อย และรดน้ำลงไปในกระบะเพาะพร้อมกับนวดฟองน้ำเพื่อให้ฟองน้ำอุ้มน้ำไว้เต็มที่นำเมล็ดพันธุ์กดลงในฟองน้ำที่มีรอยบากที่เป็นเครื่องหมายบวกไว้แล้ว โดยกดลงไปประมาณ ½ ซ.ม. เท่านั้น (หากลงลึกเกินไปเมล็ดจะแตกใบออกมาช้า และหากตื้นเกินไปเมล็ดจะงอกรากช้า) เมล็ดพันธุ์ที่เหลือควรเก็บไว้ในตู้เย็น

 เมื่อนำเมล็ดกดลงในฟองน้ำครบทุกก้อนเรียบร้อยแล้วรดน้ำให้ชุ่มซ้ำอีกครั้งหนึ่งและเก็บกระบะเพาะไว้ในที่ร่ม ระหว่าง 2-3 วันนี้ให้คอยรดน้ำ เช้า-เย็น ลงบนฟองน้ำให้ทั่ว (อย่าให้หน้าฟองน้ำแห้ง) หลังจากการเพาะประมาณ 3 วัน จะเห็นต้นกล้าเล็กๆ งอกออกมา

ต้นกล้าที่งอก  อายุประมาณ 1 วัน นำกระบะเพาะต้นกล้าออกมารับแสงแดดประมาณ 5-6 ชั่วโมง (อย่าลืมเอาออกมารับแสงแดด เพราะจะทำให้ยืดลำต้นยาว ซึ่งธรรมชาติของผักสลัดเป็นผักทรงพุ่ม) จากนั้นนำไปเก็บไว้ในที่ที่มีแสงสว่าง ทำเช่นนี้ประมาณ4-5 วัน และคอยเติมน้ำเปล่า (อย่าราดลงบนฟองน้ำ เพราะจะเกิดตะไคร่น้ำไม่สวย ควรราดน้ำบริเวณขอบกระบะเพาะ) ให้ระดับน้ำอยู่ประมาณ ½ ฟองน้ำ ระวังอย่าให้น้ำแห้ง 

เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 7 วัน หรือมีใบจริง (ใบที่ 3 ) งอกออกมา และจะมีรากโผล่ออกมาจากก้อนฟองน้ำเล็กน้อย ให้เติมน้ำที่ผสมสารละลายธาตุอาหาร A และ B อย่างละ 5 ซี.ซี. ต่อน้ำ 1 ลิตร ให้สูงประมาณ ½ ฟองน้ำ และหมั่นตรวจสอบระดับน้ำอยู่เสมอ ระวังอย่าให้น้ำแห้ง เมื่อต้นกล้าอายุประมาณ 14 วัน หรือมีรากโผล่ออกมาจากฟองน้ำมากขึ้นก็สามารถย้ายลงรางปลูกได้ (ควรทำเวลาเย็น)

การลงรางปลูก (ควรทำเวลาเย็น)
 
ต้นกล้าอายุได้ประมาณ 14  วัน ก่อนนำลงรางปลูกให้เติมน้ำลงถังน้ำ 40 ลิตร ปรับค่ากรด-ด่าง pH 5.5.-6.5 (ให้วัดค่า pH ก่อน แล้วอ่านค่าถ้าเป็นน้ำประปาจะได้ค่า pH ประมาณ 6.8 ขึ้นไป ให้ใส่ pH down ทีละ 10 cc. แล้ววัดค่า pH ทำสลับกันไปจนปรับค่า pH ที่ 5.5-6.5 ) ให้เติมสารละลายธาตุอาหาร A ก่อนสารละลายธาตุอาหาร B ก่อนประมาณ 30 นาที อย่างละ 200 cc. ต่อน้ำ 40 ลิตร อัตราส่วน 1:200 (ในกรณีที่มีเครื่องวัดEC ให้ความเข้มข้นของสารละลายอยู่ที่ประมาณ 1.2 )

การดูแลระหว่างการปลูก (อายุผัก ระหว่าง วันที่ 14-45 วัน) 
 
หมั่นตรวจเช็คภาพความเป็นกรด-ด่างของน้ำ ให้อยู่ระหว่าง  pH 5.5.-6.5 ในระบบรวมทั้งตรวจดูระดับน้ำในถังน้ำ (ถ้าเติมน้ำในถัง 10 ลิตร ให้เติมสารละลายธาตุอาหาร A และ B อย่างละ 50 cc. หรือในกรณีที่มีเครื่องวัดEC ให้ความเข้มข้นของสารละลายอยู่ที่ประมาณ 1.2 ) 

การเก็บเกี่ยวผลผลิต (อายุผัก ประมาณ 45-55 วัน ควรเก็บผักตอนเช้าที่อากาศเย็นๆ) 
ก่อนเก็บเกี่ยวประมาณ 1-2 วัน ให้งดเติมสารละลายธาตุอาหาร ให้เติมน้ำเปล่าแทนเพื่อลดความเข้มข้นของสารละลายธาตุอาหาร














1. Start with soaking the seeds you want to grow in water for a night. Next, embed one seed at a time in each of the notches on the sponge. Put the sponge in a nursery tray. Keep the tray in shade and sprinkle some water 2 times a day (in the morning and in the evening) for 5 days. Then, the seeds will grow into sprouts. Bring them to face light sunlight.

2. When the sprouts are 10 days old, remove each of the sprouts one at a time  and put it in to a growing cup. The growing cups should be placed in a nursery tray filled with a mixture of water and the nutrient A and B ( 1cc. each for 1 liter of water). To make a mixture, make sure you fill the nutrients A into water first and follow by the nutrient B. Adjust the Ph balance of the water to be in the range of 5.5 -6.5. The height of the mixture should be around 1.5 cm. and make sure you check the level of the mixture in the tray. Do not let the tray dry out.

3. When the sprouts are 20 days old, you can see the roots coming out from each cup. Take
each cup out off the nursery tray and put each one of them into a hole of the growing tray. fill the nutrient A and B in a tank filled with water plus a water pump( 200 Cc each for 40 liters of water) ( the ratio is 1:200) and adjust the pH. balance of the mixture to be in a range of 5.5-6.5. Keep checking the pH balance and the height level of the mixture in the tank. When filling the nutrients, make you will the nutrient A first (30 minutes before adding the nutrient B).

When your vegetables are fully grown (around 45 days), you can have fresh, clean and safe vegetables ready for enjoying their tastiness.