วันพฤหัสบดีที่ 25 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

แปลงผักไฮโดรโปนิกส์บนระเบียงคอนโดฯ ของคุณเก๋ ครับ

เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com 



เมื่อวานนี้ (24/11/2553) ผมได้ไปติดตั้งชุดแปลงปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ รุ่น Hydro Hobby Set 105C บนระเบียงคอนโดมิเนียมย่านบางจาก เหมาะสำหรับท่านอาศัยอยู่บนคอนโดฯ มีเนื้อที่น้อยแต่อยากปลูกผักทานเอง เราสามารถออกแบบและติดตั้งให้ได้โดยยังคงเนื้อที่ใช้สอยเท่าเดิมครับ

เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com

ํYesterday(24/11/2010) I set up Hydro Hobby Set 105C on a balcony of a condominium around Bangjark Area. This Hydro Hobby Set 105C is suitable for condominium residents who have a limited space but would like to grow their own vegetables. We can design, customize and set up the systems to suit your available space.

รูปผักไฮโดรโปนิกส์ที่ลูกค้าส่งมาฝากครับ


รูปนี้เป็นผักจากแปลงผักไฮโดรโปนิกส์ Hydro Hobby Set 205 ที่ท่านลูกค้าส่งมาฝากครับ อายุผัก
ประมาณ 4-5 สัปดาห์ครับ
This is a picture of vegetables grown in our Hydro Hobby Set 205 that our customer has sent to us.  These vegetables are around 4-5 weeks old.

วันอังคารที่ 14 กันยายน พ.ศ. 2553

ภาพจากลูกค้าส่งมาครับ (จ.หนองบัวลำภู)

ภาพนี้เป็นชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ Hydro Hobby Set 108 ที่ คุณพรรณี จังหวัดหนองบัวลำภูส่งมาครับ คุณพรรณีรู้สึกตื่นเต้นมากกับการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์เป็นครั้งแรก ซึ่งคุณพรรณีได้ปลูกผักไฮโดรโปนิกส์โดยเพาะตั้งแต่เป็นเมล็ด ผักที่เห็นในภาพอายุประมาณ 4-5 สัปดาห์ ครับ อีก 1 สัปดาห์คุณพรรณีก็จะได้รับทานผักไฮโดรโปนิกส์ที่ปลูกด้วยฝีมือตัวเองแล้วครับ สุดท้ายก็ขอขอบคุณพรรณีที่กรุณาส่งรูปมาให้นะครับ

วันอาทิตย์ที่ 29 สิงหาคม พ.ศ. 2553

หมู่บ้านวินมิลล์

วันนี้ (29/08/10)ไปติดตั้งให้ลูกค้าที่หมู่บ้านวินมิลล์มาครั
ชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ Hydro Hobby Set 205++
ผมได้แถมต้นกล้าจำนวน 50 ต้น ให้ลูกค้าไปด้วยครับ
เพื่อเป็นกำลังใจให้ลูกค้าในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์รับ

วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนทับกฤชพัฒนา อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2553 ผมได้ไปติดตั้งชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ Hydro Hobby Set 105RN จำนวน 5 ชุด และอบรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้กับคณะนักเรียนโรงเรียนทับกฤชพัฒนา อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ซึ่งต้องขอขอบพระคุณคณะอาจารย์และนักเรียนซึ่งให้การต้อนรับผมเป็นอย่างดีมา ณ ที่นี้ด้วยครับ




วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาพตัวอย่างลูกค้า

เมื่อวันเสาร์ที่ 17/04/2553 ผมได้ไปติดตั้งชุดปลูก Hydro Hobby Set 108 ให้กับคุณหมีที่รามอินทรา ก.ม. 8 ในซอยคู้บอน ซึ่งเป็นชุดพิเศษสำหรับปลูกผักไทยที่มีระยะห่างระหว่างต้นที่ 10 ซ.ม. แต่ผักสลัดมีระยะห่างระหว่างต้นที่ 20 ซ.ม.จึงได้ดัดแปลงมาจากชุดปลูก Hydro Hobby Set 105 ที่มีรางเปิด NFT ยาว 1 เมตร จำนวน 5 ราง ปลูกผักสลัดได้รอบละ 25 ต้น เป็น Hydro Hobby Set 108 รางเปิด NFT ยาว 1 เมตร จำนวน 8 ราง โดยเพิ่มจากเดิม 3 ราง ซึ่งสามารถปลูกผักไทยได้ถึง 72 ต้น

คุณหมี (ซอยคู้บอน รามอินทรา ก.ม. 8)
ผมได้แถมต้นกล้าผักสลัดให้ไป 25 ต้น เมื่อเป็นกำลังใจให้กับคุณหมีที่เพิ่งเริ่มต้นในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ผักไร้ดินปลอดสารครับ ส่วนตัวโครงหลังคาและหัวพ่นหมอก 1 หัว ที่เห็นเป็นออฟชั่นเพิ่ม ลูกค้าสามารถนำแบบไปติดตั้งเองก็ได้หรือจะให้ทาง ฟ้า เฟรช ฟาร์ม ติดตั้งให้ก็ได้ครับ ขอแค่ค่าอุปกรณ์เท่านั้นก็พอครับ

คุณศรชัย (พัทยา)

คุณเดชและคุณอัยนา (บึงกุ่ม)

ผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัยจริงหรือ?

          เรื่องความปลอดภัยของการบริโภคผักที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร เป็นสิ่งที่ถูกถามกันมากคำถามหนึ่ง ด้วยความกังวลที่ว่าผักที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์นี้ต้องแช่หรือสัมผัสกับสารละลายธาตุอาหารซึ่งจัดเป็นสารเคมีอย่างหนึ่งอาจดูดเคมีนั้นขึ้นไปสะสม เมื่อผู้บริโภครับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้หรือไม่

          โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะนำไปเปรียบเทียบกับการปลูกพืชในดินแบบให้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยคอก) แต่ในความเป็นจริงแล้ว พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดูดกินอาหารผ่านทางรากในรูปของแร่ธาตุที่อยู่ในรูปของอิออน หรือ ประจุ (ion) เท่านั้น ซึ่งมีทั้งธาตุประจุบวก ได้แก่ NH4+, K+, Ca+2, Mg+2 , Fe+2 เป็นต้น และธาตุประจุลบ ได้แก่ NO3-, SO4-2, H2PO4-, BO3-3

          ดังนั้น แม้ว่าเราจะปลูกพืชลงในดินแล้วทำการให้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยนั้นจะยังไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจนกว่าจะถูกการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดินจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นแร่ธาตุต่างๆที่แตกตัวเป็นอิออนละลายอยู่ในน้ำในดิน หรือจนกว่าปุ๋ยเคมีเม็ด นั้นจะแตกตัวละลายกลายเป็นแร่ธาตุอยู่ในสารละลายดินเช่นกัน รากพืชจึงดูดไปใช้ได้

          สรุปก็คือ ไม่ว่าเราจะปลูกพืชในดินหรือในสารละลาย พืชก็ดูดใช้อาหารในรูปของประจุของแร่ธาตุ (ซึ่งบางคนเรียกว่าเป็นเคมี) เหมือนๆกัน ก่อนที่แร่ธาตุเหล่านั้นจะถูกพืชนำไปใช้สร้างสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลใหญ่อื่นๆ ได้แก่ เป็นแป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน ต่างๆ ให้มนุษย์นำมารับประทานอีกที ดังนั้น หากเราไม่กังวลที่จะรับประทานผักที่ปลูกจากดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เราก็ไม่ควรที่จะกังวลกับการบริโภคผักที่ปลูกในสารละลาย เช่นกัน

          ส่วนเรื่องการสะสมของไนเตรทที่เป็นอนุมูลของไนโตรเจนที่มีอยู่มากในสารละลาย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มักมีผู้สงสัย ไนเตรทเป็นอนุมูลไนโตเจนที่พืชต้องการและดูดใช้มากในช่วงพัฒนาด้านลำต้น กิ่งใบ หากเราเก็บเกี่ยวพืชที่ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาทางด้านลำต้นอยู่ ไม่ว่าจะปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ หรือปลูกในดิน ก็จะต้องพบว่ามีไนเตรทอยู่บ้างไม่มากก็น้อย แต่หากมีไม่เกิน 2500-3000 มก.ต่อ 1 กก น้ำหนักสดของผัก ก็ยังถือว่าปลอดภัยครับ

          เคยมีรายงานว่าพบการสะสมไนเตรทในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคทั้งการปลูกในสารละลาย (วุฒิพงษ์, 2545: ปัญหาพิเศษปริญญาโท มก) และที่ปลูกในดิน (Patcharaporn et al., 2001 : Thai J. Agric. Sci 35(3) )

          ดังนั้นปริมาณการสะสมไนเตรทจึงไม่ได้ขึ้นกับว่าปลูกในอะไร แต่น่าจะขึ้นกับว่าปลูกอย่างไร กรณีปลูกในสารละลาย ปริมาณการสะสมไนเตรทในต้นพืชขึ้นกับความเข้มข้นของอนุมูลไนเตรทที่อยู่ในสารละลายที่ใช้ปลูกพืช และอัตราการใช้อนุมูลไนเตรทของพืชที่นำไปเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนกลูตามินซึ่งต้องใช้โมเลกุลของน้ำตาลที่มาจากการสังเคราะห์แสงร่วมด้วย

          ข้อดีประการหนึ่งของประเทศไทยคือที่มีแสงแดดจัด พืชจึงอัตราการสังเคราะห์แสงจึงค่อนข้างสูง ทำให้อัตราการเปลี่ยนแปลงไนเตรทเป็นกรดอะมิโนกลูตาเมทเกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว และในการปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ ในการปลูกที่ดีต้องมีการควบคุมระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมทุกๆวัน ถ้าพืชมีการจริญเติบโตและสังเคราะห์แสงที่เป็นปกติโอกาสที่จะเกิดการสะสมไนเตรทจนถึงระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคจึงไม่น่าเกิดขึ้น และยังสามารถลดไนเตรทก่อนเก็บเกี่ยวได้ง่ายๆ โดยการงดให้ธาตุอาหาร 1 -2 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว ในทางกลับกันการปลูกในดินกลับควบคุมได้ยากกว่า ครับ

ผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจาย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ
รองประธานชมรมปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแห่งประเทศไทย


เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com

วันอังคารที่ 15 มิถุนายน พ.ศ. 2553

ทําไมต้องปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์

ไฮโดรโพนิกส์ เป็นทางเลือกหนึ่งของการปลูกพืชให้มีคุณภาพ มีความสมํ่าเสมอ ผลผลิตสูงสามารถวางแผนการปลูกได้กําหนดปริมาณการผลิตให้เป็นไปตามเป้าหมาย หรือความต้องการของตลาดได้ดีกว่า เนื่องจากสามารถควบคุมปัจจั ยต่างๆ ที่ให้แก่พืชได้อย่างเหมาะสม ทําให้ปลูกพืชได้อย่างต่อเนื่อง สําหรับประเทศไทยนั้นมีความเป็นไปได้ที่จะนํา วิธีการปลูกพืชแบบนี้มาใช้ทํา ให้สามารถปลูกพืชในพื้นที่ที่ไม่มีดินหรือดินมีปัญหา บริเวณรอบๆเมืองใหญ่ ผู้คนอยู่หนาแน่น การปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์จะใช้พื้นที่น้อยแต่ให้ผลผลิตมาก เป็นระบบที่ง่ายไม่ยุ่งยากหาและดัดแปลงวัสดุอุปกรณ์ได้ ภายในประเทศเพื่อลดทุนเนื่องจากในปัจจุบันคนไทยหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น ทําให้ผักเป็นอาหารที่ได้รับความนิยมมากขึ้น ส่งผลให้ปริมาณการบริโภคผักในแต่ละปีมีมูลค่าสูงถึง 80,000 ล้านบาท แม้ว่าประเทศไทยจะเป็นประเทศ เกษตรกรรม แต่ก็ยังต้องนําเข้าผักจากต่างประเทศ เช่นผักเมืองหนาวต่างๆ เนื่องจากเป็นผักที่ไม่สามารถ ปลูกได้ภายในประเทศ หรือปลูกได้แต่ผลผลิตตํ่า

ผักเมืองหนาวเป็นผักชนิดหนึ่งที่ได้รับความนิยมจาก ผู้บริโภคไม่น้อยเนื่องด้วยรสชาติ และความกรอบอร่อยของผัก ประกอบกับกระแสความนิยมบริโภคอาหารตะวันตก ส่งผลให้มีการบริโภคผักเมืองหนาวสูงขึ้นด่วย แต่การปลูกผักเมืองหนาวต้องปลูกในบริเวณภาคเหนือของประเทศเนื่องด้วยข้อจํากัดทางด้านดิน ฟ้า อากาศ และอุณหภูมิ แม้จะมีการใช้ปุ๋ยและยาฆ่าแมลงอย่างแพร่หลายแต่ผลผลิตที่ได้ก็ยังไม่ดี และไม้เพียงพอกับความต้องการภายในประเทศ อีกทั้งผลผลิตที่ได้ก็ไม่สมํ่าเสมอตลอดทั้งปี ทําให้ต้องมีการนําเข้าจากต่างประเทศ แล้วยังมีผู้ผลิตภายในประเทศเพียงไม่กี่ราย อย่างไรก็ตามในช่วง 2 ปีที่ผ่านมา ประเทศไทยได้นําเทคโนโลยีที่ทําให้สามารถปลูกผักเมืองหนาวได้แม้ในพื้นที่มีอากาศร้อนอุณหภูมิสูงก็ตามเข้ามาใช้ โดยใช้เทคนิคที่เรียกว่าHydroponics มาช้วยในการปลูก ซึ่งนอกจากจะช่วยให้สามารถปลูกผักเมืองหนาวในเขตภาคกลางหรือในพื้นที่ที่อากาศร้อนได้แล้ว ยังได้ผล ผลิตที่ดีและสมํ่าเสมอไม่ขึ้นกับฤดูกาล เก็บเกี่ยวผลผลิตได้เร็วขึ้น ผักที่ได้ยังเป็นผักปลอดสารพิษอีกด้วย

ผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจาย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ
รองประธานชมรมปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแห่งประเทศไทย

เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com

วันพฤหัสบดีที่ 6 พฤษภาคม พ.ศ. 2553

น้ำกับการปลูกผักไฮโดรฯ

น้ำนั้นมีความสำคัญมากในการปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิกส์ทุกระบบ ไม่ว่าจะเป็นในระบบ NFT, DFT, Aeroponics การปลูกในวัสดุปลูก หรือระบบอื่นๆที่ปลูกโดยไม่ใช้ดิน เนื่องจากน้ำเป็นตัวทำละลายธาตุอาหาร ซึ่งรากพืชต้องดูดไปใช้ ยกตัวอย่างง่ายๆคือ ถ้าน้ำมีคุณภาพดี ธาตุอาหารที่ใส่ลงไปในน้ำก็จะละลายได้หมด พืชก็สามารถนำไปใช้ได้อย่างเต็มที่ แต่ถ้าคุณภาพน้ำไม่ดี ธาตุอาหารที่ใส่ลงไปก็จะละลายไม่หมด เกิดการตกตะกอน พืชก็จะไม่สามารถนำไปใช้ได้ ทำให้พืชเกิดอาการขาดธาตุอาหาร เช่นใบเหลือง แคระแกร็น เป็นต้น น้ำจึงมีความสำคัญมาก ซึ่งเราควรพิจารณาเป็นลำดับแรกๆ ก่อนคิดลงทุนเพื่อปลูกเป็นระบบการค้า คำถามที่ตามมาก็คือ แล้ว ควรใช้น้ำอะไรในการปลูกดี ซึ่งแหล่งของน้ำที่จะนำมาใช้นั้นมีหลายประเภท ได้แก่




น้ำฝน

จัดว่าเป็นน้ำที่ดีที่สุด มีค่า EC ต่ำ สิ่งเจือปนน้อย ที่สำคัญมีต้นทุนต่ำ โดยปกติน้ำฝนตามธรรมชาติจะมีความเป็นกรดเล็กน้อย เนื่องจากการละลายก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ในอากาศ แต่ทว่าในเขตอุตสาหกรรมที่มีการปล่อยก๊าซเสียออกมา จะทำให้เกิดสภาวะฝนกรด น้ำฝนที่เก็บได้จะมีค่า pH ต่ำลง ดังนั้นถ้าจะใช้พื้นที่ปลูกอยู่ในเขตอุตสาหกรรม ควรพิจารณาถึงส่วนนี้ด้วย รวมถึงอุปกรณ์ที่จะกักเก็บน้ำฝน ควรปิดมิดชิดพอสมควรเพื่อป้องกันฝุ่นละออง และเชื้อโรคต่างๆ



น้ำประปา

จัดว่าเป็นน้ำที่หาได้ง่าย ต้นทุนไม่สูงมากนัก โดยทั่วไปในเขตกรุงเทพ น้ำประปามีคุณภาพค่อนข้างดี สามารถนำมาใช้ได้เลย แต่สำหรับในเขตต่างจังหวัด น้ำบางที่ก็มีคุณภาพดี บางที่คุณภาพไม่ดี ควรลองตรวจสอบค่าก่อนนำไปใช้



น้ำตก

น้ำจากเขื่อน น้ำในแม่น้ำ น้ำคลอง แหล่งน้ำเหล่านี้ มักมีสารแขวนลอยสูง และคุณสมบัติของน้ำไม่คงที่ตลอดปี รวมถึงอาจมีเชื้อโรคที่อาจปะปนมากับน้ำ จึงไม่ค่อยเหมาะสมในการนำมาใช้ แต่อาจตรวจสอบคุณภาพน้ำก่อนก็ได้เพื่อความไม่ประมาท



น้ำบาดาล

จัดเป็นแหล่งน้ำที่มีต้นทุนต่ำเช่นกัน การจะนำน้ำบาดาลมาใช้นั้นควรดูว่าในพื้นที่ของเรา มีน้ำหรือไม่ และสามารถขุดเจาะบาดาลได้หรือไม่ ในบางพื้นที่ไม่อนุญาติให้ขุดเจาะน้ำบาดาลขึ้นมาใช้ แล้ว เพราะผิดกฎหมาย จึงควรตรวจสอบกับหน่วยงานของรัฐก่อน สำหรับคุณภาพน้ำบาดาลในแต่ละที่นั้นบอกไม่ได้ว่าดีหรือไม่ดี ต้องเก็บตัวอย่างนำมาวิเคราะห์ แต่เราอาจสอบถามได้จากบริษัทที่รับขุดเจาะบาดาล หรือเก็บตัวอย่างน้ำจากบ่อบาดาลในพื้นที่บริเวณใกล้เคียงมาตรวจสอบเบื้องต้น เพื่อเป็นข้อมูลพื้นฐาน บางคนบอกว่าน้ำบาดาลมักมีสิ่งเจือปนสูงมาก โดยเฉพาะ สนิมเหล็ก หรือ โซเดียม ซึ่งเป็นอันตรายต่อพืช จริงๆแล้วเป็นเฉพาะบางพื้นที่ ไม่ใช่ทั้งหมด เราเคยพบว่าน้ำบาดาลบางแห่งมีคุณภาพดีมาก ดีกว่าน้ำประปา ก็มี บางแห่งคุณภาพใกล้เคียงกับน้ำฝน ก็มี ขึ้นอยู่กับแต่ละพื้นที่ ดังนั้นถ้าจะเลือกใช้น้ำบาดาลควรตรวจอบคุณภาพก่อนจะดีที่สุด

เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com

วันเสาร์ที่ 10 เมษายน พ.ศ. 2553

ข้อจำกัดของการปลูกผักไฮโดรฯ

ข้อจำกัด คือ ลงทุนสูงในระยะแรก และต้องมีปัจจัยในการปลูกพืชในระบบนี้ คือ ไฟฟ้า น้ำ และธาตุอาหารที่พืชต้องการในรูปของสารเคมีอย่างไรก็ตาม การปลูกพืชในระบบไฮโดรโพนิคส์ ในปัจจุบันเป็นที่นิยมกันมากสำหรับปลูกผักอนามัย และวิธีการปลูก วัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่ใช้ก็มีการพัฒนาให้สะดวกและทันสมัยมากขึ้น ตลาดของผักอนามัยในปัจจุบัน เริ่มมีผู้หันมานิยมบริโภคมากขึ้น การวางจำหน่ายผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์ ปัจจุบันจะบรรจุถุงทั้งต้น โดยไม่ตัดรากและบางรายภาชนะปลูกที่ใช้พยุงต้นซึ่งเป็นกระถางพลาสติกโปร่ง ขนาดเล็กๆ ยังมีติดที่โคนต้นเป็นการยืนยันว่าเป็นผักที่ปลูกในระบบไฮโดรโพนิคส์จริง ๆ ปราศจากสารเคมีป้องกันกำจัดแมลงแน่นอน

เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com

วันศุกร์ที่ 9 เมษายน พ.ศ. 2553

ระบบ NFT (Nutrient Film Technique)

          การให้สารละลายผ่านรากพืชเป็นแผ่นบางๆ (Nutrient Film Technique) เป็นเทคนิคที่ได้รับความสนใจอย่างมาก เป็นการปลูกพืชโดยรากแช่อยู่ในสารละลายโดยตรง สารละลายจะไหลเป็นแผ่นฟิล์มบางๆ (หนาประมาณ 2-3 มิลลิเมตร) ในลำรางปลูกพืชกว้างตั้งแต่ 5-35 เซนติเมตร ขึ้นกับชนิดของพืชที่ปลูก ลำรางสูงประมาณ 5 เซนติเมตร ความยาวของรางตั้งแต่ 5-20 เมตร แต่โดยทั่วไปไม่ควรเกิน 10 เมตร เพราะจะทำให้เกิดความแตกต่างของปริมาณออกซิเจนระหว่างหัวและท้ายรางได้ รางอาจทำจากแผ่นพลาสติกสองหน้าขาวและดำ หนา 80-200 ไมครอน หรือจาก PVC ขึ้นรูปเป็นรางสำเร็จรูป หรือทำจากโลหะ เช่น สังกะสี หรือ อลูมิเนียมบุภายในด้วยพลาสติกเพื่อป้องกันการกัดกร่อนของสารละลาย ต้นพืชจะลอยอยู่ในลำรางได้โดยใช้วัสดุห่อหุ้มต้นหรือให้รากพืชเกาะยึดกับวัสดุรองรับรากที่สามารถดูดซับน้ำได้ซึ่งในต่างประเทศนิยมใช้ Polyurethane Foam แต่สำหรับประเทศไทยการใช้วัสดุชนิดนี้จะทำให้ต้นทุนมสูงขึ้นมากเนื่องจากต้องนำเข้าจากต่างประเทศ (ปัจจุบันประเทศไทยสามารถผลิตเองได้แล้ว) รางปลูกจะถูกปรับให้ลาดเทประมาณร้อยละ 2 สารละลายจะถูกปั๊มสูบน้ำจากถังเก็บสารละลาย แล้วปล่อยเป็นฟิล์มบางๆ ผ่านรากพืชด้วยความเร็วประมาณ 2 ลิตรต่อนาที เพื่อให้รากพืชได้รับออกซิเจนเพียงพอ ที่ปลายอีกด้านหนึ่งของลำรางจะมีรางนำรองรับสารละลายธาตุอาหารที่ใช้แล้ว ไปรวมที่ถังเพื่อดูดกลับมาใช้ใหม่ 



การปลูกพืชแบบให้สารละลายไหลผ่านรากพืชเป็นแผ่นบางๆ

ที่มา: ถวัลย์, 2534

          ระบบ NFT มีข้อดีหลายอย่าง เช่น ไม่จำเป็นต้องมีเครื่องควบคุมการให้น้ำอัตโนมัติ เนื่องจากมีการให้น้ำแก่พืชตลอดเวลา ระบบการให้สารละลายแก่พืชไม่ยุ่งยาก ป้องกันกำจัดโรคพืชในสารละลายได้ง่าย เป็นระบบที่มีการใช้น้ำและธาตุอาหารอย่างมีประสิทธิภาพที่สุด ไม่มีวัสดุปลูกที่ต้องกำจัด สามารถปลูกพืชต่อเนื่องได้ตลอดปีไม่ต้องเสียเวลาเตรียมระบบปลูก

เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com

ข้อดีของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์

          การปลูกพืชโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์เป็นการปลูกพืชโดยใช้หลักวิชาการแบบวิทยาศาสตร์สมัยใหม่โดยการเลียนแบบการปลูกพืชบนดิน แต่ไม่นำดินมาใช้เป็นวัสดุปลูก พืชสามารถเจริญเติบโตได้โดยอาศัยธาตุอาหารต่างๆ ที่ละลายลงในน้ำเพื่อทดแทนธาตุอาหารที่มีอยู่ในดิน ซึ่งวิธีการนี้มีข้อดีหลายประการ เช่น

          1. สามารถปลูกพืชได้ต่อเนื่องตลอดปี เมื่อเก็บผลผลิตผักแล้วสามารถปลูกพืชผักรุ่นต่อไปได้ทันที เนื่องจากไม่ได้ปลูกพืชลงดินจึงไม่ต้องทิ้งระยะเวลาเพื่อทำการพักดิน ตากดิน กำจัดวัชพืช และเตรียมแปลงปลูกใหม่ การปลูกพืชในดินต่อเนื่องเป็นเวลานานยังทำให้เกิดปัญหาดินเสื่อมสภาพ แต่การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์สามารถปลูกพืชต่อเนื่องได้โดยไม่ต้องกลัวปัญหานี้ เนื่องจากแหล่งอาหารของพืชไม่ได้มาจากดิน แต่มาจากธาตุอาหารต่างๆ ที่ให้ทางสารละลายธาตุอาหาร นอกจากนั้นการปลูกพืชด้วยเทคนิคนี้ไม่ขึ้นกับฤดูกาล เพราะมีการควบคุมสภาพแวดล้อม จึงเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ปลูกได้ต่อเนื่องตลอดปี

          2. สามารถปลูกพืชได้แม้ในที่ที่ไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกพืช การอาศัยอยู่ในชุมชนเมืองซึ่งที่ดินมีราคาแพง ผู้อยู่อาศัยในที่ที่มีพื้นที่จำกัด เช่น ตึกแถว ทาวน์เฮาส์ อาคารชุด และหอพัก ไม่มีพื้นที่สำหรับปลูกพืช สามารถปลูกพืชผักสวนครัว สมุนไพร หรือไม้ดอกไม้ประดับ ได้โดยใช้ระบบไฮโดรโปนิกส์ขนาดเล็กวางบริเวณพื้นที่ว่างที่มีอยู่เล็กน้อย เช่น ริมหน้าต่าง ทางเดิน ดาดฟ้า พื้นที่เล็กๆ หลังบ้าน

          3. สามารถปลูกพืชในที่ที่ดินไม่เหมาะสม ในบางพื้นที่มีพื้นที่อยู่มากมาย แต่ใช้ทำการเพาะปลูกพืชไม่ได้ เนื่องจากดินขาดความอุดมสมบูรณ์ ดินทะเลทราย พื้นที่ที่เป็นหิน พื้นที่ภูเขา ดินเค็ม ดินกรด ดินด่าง พื้นที่อยู่ในเขตแห้งแล้ง หรือขาดแคลนน้ำชลประทาน การแก้ปัญหาเหล่านี้ทำได้ยาก ต้องใช้เวลานาน และใช้งบประมาณมาก สามารถใช้พื้นที่ที่มีอยู่ปลูกพืชได้ด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ เพราะนอกจากไม่ต้องใช้ดินเป็นแหล่งอาหารสำหรับพืชแล้ว ยังเป็นวิธีที่ใช้น้ำน้อยและใช้อย่างมีประสิทธิภาพ พืชไม่มีปัญหาขาดน้ำ ไม่มีการสูญเสียน้ำจากการซึมลึก การไหลทิ้ง หรือการแย่งน้ำจากวัชพืช ไม่มีปัญหาการให้น้ำมากเกินไป

          4. พืชเจริญเติบโตได้เร็วและให้ผลผลิตสูง การปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม ไม่สามารถกำหนดปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับความต้องการของพืชได้ นอกจากนั้นยังมีการสูญเสียธาตุอาหารจากกระบวนการต่างๆ ที่เกิดขึ้นในดินและในอากาศ ตลอดจนการแย่งธาตุอาหารจากวัชพืช แต่การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ สามารถควบคุมปริมาณสารอาหารได้ดีกว่าการปลูกในดิน สามารถกำหนดปริมาณธาตุอาหารให้ตรงกับความต้องการของพืช พืชได้รับสารอาหารในรูปอนินทรีย์โดยตรง ทำให้การใช้ปุ๋ยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ นอกจากนี้ยังไม่มีปัญหาการแย่งธาตุอาหารโดยวัชพืช จึงทำให้พืชเจริญเติบโตเร็วและได้ผลผลิตสูง ในอีกแง่หนึ่ง ถ้าคำนึงถึงผลผลิตต่อปี ผลผลิตจากการผลิตด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ก็จะสูงกว่าการปลูกด้วยวิธีดั้งเดิม เนื่องจากการเก็บเกี่ยวได้เร็วขึ้นและปลูกต่อเนื่องได้ตลอดปีไม่ขึ้นกับฤดูกาล ทำให้สามารถปลูกพืชได้มากครั้งกว่าในเวลาเท่ากัน

          5. ผลผลิตมีความสม่ำเสมอ สะอาดและคุณภาพดี เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารตามที่พืชต้องการตลอดจนควบคุมปัจจัยทางด้านสภาพแวดล้อมได้ทั่วถึง ทำให้ได้ผลผลิตที่มีความสม่ำเสมอ มีรูปร่าง สี ขนาด ใกล้เคียงกัน ผลผลิตไม่ได้สัมผัสกับดิน จึงสะอาดและดูน่ารับประทาน การปลูกพืชวิธีนี้จึงเป็นวิธีที่เหมาะที่จะผลิตพืชผักที่ต้องการผลผลิตที่มีคุณภาพและความสม่ำเสมอ เช่น ผักส่งออก ผักทดแทนการนำเข้า และผักส่งขายในซุปเปอร์มาร์เก็ต

          6. ใช้แรงงานน้อยลง การปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์จะใช้แรงงานน้อยกว่าการปลูกพืชด้วยวิธีดั้งเดิม เนื่องมาจากไม่ต้องมีการเตรียมดิน ไม่ต้องทำการเขตกรรม เช่น ให้น้ำ ใส่ปุ๋ย กำจัดวัชพืช มีศัตรูพืชน้อยกว่า จึงใช้แรงงานในการกำจัดน้อยกว่า การเพาะเมล็ด การย้ายปลูก การเตรียมแปลงปลูก และการเก็บเกี่ยว ทำได้ง่ายกว่า จึงใช้แรงงานน้อยกว่า

          7. ลดการใช้สารเคมี เนื่องจากมีการควบคุมสภาพแวดล้อม ควบคุมศัตรูพืชได้ง่าย เพราะการไม่ใช้ดินในการปลูกพืช ทำให้ไม่มีปัญหาโรคแมลงที่อยู่ในดินตลอดจนไม่มีปัญหาวัชพืช ส่วนโรคแมลงที่ระบาดทางอากาศก็สามารถลดการใช้สารเคมีได้โดยการใช้โรงเรือนตาข่าย

          8. ปลูกพืชได้ทุกฤดูกาลและทุกสภาพอากาศ เนื่องจากมีการควบคุมปริมาณธาตุอาหารให้พอดีกับความต้องการของพืชและมีการควบคุมสภาพแวดล้อมอื่นๆ ให้เหมาะสมต่อการเจริญเติบโตของพืช การที่สามารถปลูกพืชได้ตลอดไม่ขึ้นกับฤดูกาล ทำให้สามารถควบคุมราคาได้โดยไม่ขึ้นลงตามฤดูกาล

เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com

4 ขั้นตอนง่ายๆ กับการปลูกผักไฮโดรฯ


1. เริ่มต้นด้วยการเพาะเมล็ดพันธุ์ผักที่ต้องการปลูกด้วยการแช่เมล็ดพันธุ์ในน้ำ 1 คืน แล้วนำไปใส่ในก้อนฟองน้ำวางในกระบะเพาะ คลุมผ้า วางในที่ร่มรดน้ำเช้า-เย็น ประมาณ 5 วัน จะได้ต้นกล้า นำออกมาให้โดนแดดอ่อน


2. เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 10 วันทำการย้ายต้นกล้าลงถ้วยปลูกที่วางเรียงอยู่ในกระบะเพาะโดยให้สารอาหารA และ B อย่างละ 1 cc. ต่อน้ำ 1 ลิตร และปรับค่า กรด-ด่าง pH 5.5.-6.5 ระดับน้ำสูง ประมาณ 1.5 ซ.ม. หมั่นตรวจเช็คระดับน้ำในกระบะเพาะอย่าให้แห้ง


3. เมื่อต้นกล้ามีอายุประมาณ 20 วัน รากเริ่มงอกออกจากถ้วยปลูก นำลงรางปลูกให้สารอาหาร A และ B อย่างละ 200 cc. ต่อน้ำ 40 ลิตร (อัตราส่วน 1:200) และปรับค่ากรด-ด่าง pH 5.5.-6.5 หมั่นตรวจเช็คภาพความเป็นกรด-ด่างของน้ำในระบบรวมทั้งระดับน้ำในถังพัก (ถ้าเติมน้ำในถัง 10 ลิตร ให้เติมสารอาหาร A และ B อย่างละ 50 cc.) ให้เติมสารอาหาร A ก่อน สารอาหาร B ประมาณ 30 นาที

4. เมื่อครบอายุของผักแล้ว คุณก็จะได้ผักที่ทั้งสด สะอาดและปลอดภัย สามารถรับประทานได้อย่างสนิทใจ

เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com

ผัก อร่อยดีมีประโยชน์ (อย่างไร)



กรีนคอส ผักสลัดใบเขียว ใบยาวใหญ่ รสชาติหวานเล็กน้อยกรอบอร่อยรับประทานแล้วสามารถช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง ช่วยให้เส้นเลือดฝอยแข็งแรง



กรีนโอ๊ค ผักสลัดใบหยักสวย สีเขียวอ่อน เนื้อค่อนข้างนุ่ม รสชาติอร่อยช่วยในการสร้างเม็ดเลือด บำรุงสายตา บำรุงเส้นผม บำรุงประสาท และบำรุงกล้ามเนื้อ



บัตเตอร์เฮด ผักสลัดใบเขียว ใบกว้างกลม รสชาติหวานเล็กน้อย กรอบอร่อยช่วยบำรุงสายตา บำรุงเส้นผม บำรุงประสาท บำรุงกล้ามเนื้อ และบำรุงผิวนอกจากนี้ยังช่วยลดคอเรสเตอรอลอีกด้วย



เรดโอ๊ค ผักสลัดใบหยัก สีน้ำตาลแดง เนื้อค่อนข้างนุ่มทานแล้ว ช่วยบำรุงสายตา บำรุงประสาท บำรุงกล้ามเนื้อและช่วยบำรุงผิวพรรณ ป้องกันโรคปากนกกระจอก มีโฟเลท และธาตุเหล็กสูง มีวิตามินซีสูง



เรด คอรัล ผักสลัดใบหยัก ใบจะหยักมากกว่า กรีนโอ๊ก และเรดโอ๊กสีน้ำตาลแดง เนื้อค่อนข้างนุ่มช่วยสร้างเม็ดเลือด ให้เส้นใยอาหารสูง ป้องกันโรคปากนกกระจอก ช่วยป้องกันโรคโลหิตจาง มีวิตามินซีสูง

ความเป็นมาของการปลูกผักไฮโดรฯ

สวัสดีครับ วันนี้ว่างๆ ก็เลยลองหาประวัติความเป็นมาของการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์มาฝาก เผื่อบ้างท่านสงสัยว่า การปลูกผักไฮโดรโปนิกส์นั้นมันมีที่ไปที่มาอย่างไร ซึ่งก็ไม่น่าเชื่อนะครับว่า การปลูกผักแบบไฮโดรโปนิกส์มีมากว่าหลายพันปีแล้วครับ

          ไฮโดรโปนิกส์ (hydroponics) เป็นคำที่มาจากภาษากรีก 2 คำ คือคำว่า hydro ซึ่งแปลว่าน้ำ และคำว่า ponos แปลว่าทำงานหรือแรงงาน เมื่อรวมกันจึงมีความหมายว่าการทำงานที่เกี่ยวข้องกับน้ำ ประวัติความเป็นมาของการปลูกพืชโดยวิธีนี้นั้นเริ่มมาจากการศึกษาเกี่ยวกับการใช้ธาตุอาหารต่างๆ ในการปลูกพืช ซึ่งมีมาตั้งแต่หลายพันปีก่อนสมัยของอริสโตเติล จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์พบว่านักวิทยาศาสตร์หลายท่านได้เขียนบันทึกต่างๆ ทางพฤกษศาสตร์ขึ้นและปรากฎอยู่จนทุกวันนี้ แต่การปลูกพืชตามหลักการทางวิทยาศาสตร์นั้นเริ่มขึ้นประมาณ 300 ปีมาแล้ว คือประมาณ ค.ศ. 1699 John Woodward นักพฤกษศาสตร์ชาวอังกฤษได้พยายามทำการทดลอง เพื่อหาคำตอบว่าอนุภาคของของแข็งและของเหลวที่อยู่ในดินมีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของพืชอย่างไร ต่อมาปี ค.ศ. 1860-1865 นักวิทยาศาสตร์ชื่อ Sachs และ Knop นับเป็นผู้ริเริ่มปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ตามหลักการทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่ โดยการปลูกพืชด้วยสารละลายเกลือ อนินทรีย์ต่างๆ เช่น โพแทสเซี่ยมฟอสเฟต โพแทสเซี่ยมไนเตรต ซึ่งให้ธาตุอาหารที่จำเป็นต่อการเจริญเติบโตของพืช คือ ไนโตรเจน ฟอสฟอรัส โพแทสเซี่ยม แมกนีเซียม กำมะถัน แคลเซียม และเหล็ก ภายหลังมีการพัฒนาสูตรธาตุอาหารพืชเรื่อยมา จนถึงปี ค.ศ. 1920-1930 William F.Gericke แห่งมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย ประสบความสำเร็จในการปลูกมะเขือเทศในสารละลายธาตุอาหาร โดยพืชมีการเจริญเติบโตสมบูรณ์และให้ผลผลิตเร็ว นับเป็นจุดเริ่มต้นของการนำเทคนิคการปลูกพืชโดยวิธีนี้ไปประยุกต์ใช้เพื่อปลูกพืชเป็นการค้า และได้มีการพัฒนาเทคนิควิธีการและส่วนประกอบในสารละลายเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน

          การประยุกต์ใช้ระบบการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์อย่างจริงจังเริ่มขึ้นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 เช่น กองทัพสหรัฐอเมริกาซึ่งตั้งฐานทัพอยู่ในประเทศญี่ปุ่น สภาพพื้นที่เป็นหินไม่เหมาะต่อการปลูกพืช ได้มีการนำการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์มาใช้ปลูกพืชผักเลี้ยงกองทัพโดยปลูกภายในโรงเรือนและใช้กรวดเป็นวัสดุปลูก แม้หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2 ยุติลง กองทัพอเมริกันที่ยึดครองประเทศญี่ปุ่นก็ยังคงใช้วิธีนี้ผลิตพืชผัก กองทัพเรืออังกฤษซึ่งมีที่ตั้งอยู่ตามเกาะห่างไกล ในมหาสมุทรแปซิฟิก และมีหลายแห่งที่พื้นที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการปลูกพืช แต่กองทัพต้องการพืชผักเป็นอาหารสำหรับกำลังพล จึงได้มีการนำการปลูกพืชด้วยวิธีนี้มาใช้เช่นกัน


          ปัจจุบันการปลูกพืชด้วยระบบไฮโดรโปนิกส์ได้พัฒนาไปมาก โดยทั่วไปในประเทศพัฒนามักทำการปลูกภายใต้เรือนกระจก มีการควบคุมสภาพแวดล้อม การผลิตเป็นอุตสาหกรรมขนาดใหญ่จะใช้คอมพิวเตอร์ควบคุมระบบต่างๆ การเพาะกล้า และการย้ายกล้าลงปลูกในระบบจะเป็นแบบอัตโนมัติหรือกึ่งอัตโนมัติ ระบบที่นิยมใช้จะแตกต่างกัน เช่น ประเทศในแถบยุโรปจะนิยมใช้nutrient film technique (NFT) สหรัฐอเมริกานิยมใช้ระบบน้ำไม่ไหลเวียน (non-circulating system) ในออสเตรเลียจะใช้ทั้ง 2 ระบบ

          สำหรับประเทศในแถบเอเซีย ญี่ปุ่นเป็นชาติแรกที่นำการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์มาใช้ เป็นเชิงพาณิชย์ โดยเริ่มจากที่กองทัพสหรัฐอเมริกาซึ่งเข้ายึดครองประเทศญี่ปุ่นช่วงหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 นำเทคนิคนี้มาใช้ปลูกพืชผักเพื่อเป็นอาหาร หลังจากนั้นในปี ค.ศ. 1960 ได้มีการพัฒนาเทคนิคการปลูกพืชในกรวด (gravel culture) ขึ้น นับเป็นเทคนิคการปลูกพืชแบบไฮโดรโปนิกส์แบบแรกที่พัฒนาขึ้นโดยชาวญี่ปุ่น จากนั้นก็มีการพัฒนาเรื่อยมาจนปัจจุบันประเทศญี่ปุ่นมีเทคนิคต่างๆ กว่า 30 แบบ ถือเป็นประเทศที่มีความก้าวหน้าที่สุดในการปลูกพืชด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ในเอซีย การปลูกผักด้วยวิธีไฮโดรโปนิกส์ในญี่ปุ่นพัฒนาอย่างรวดเร็วเนื่องจากการเจริญของเมืองและราคาที่ดินที่สูงขึ้น ทำให้การทำการเกษตรด้วยระบบดั้งเดิมถูกจำกัดโดยราคาที่ดิน พืชที่นิยมปลูกด้วยวิธีนี้คือ มะเขือเทศ แตงกวา และ Japanese hornwort เนื่องจากเป็นพืชที่ให้กำไรมาก ฟาร์มไฮโดรโปนิกส์ในญี่ปุ่นที่ประสบความสำเร็จมักดำเนินการในเรือนกระจกขนาดใหญ่ มีผลผลิตออกสู่ตลาดต่อวันในปริมาณมาก อย่างไรก็ตามมีฟาร์มขนาดเล็กที่ประสบความสำเร็จเช่นกัน ส่วนใหญ่จะเป็นฟาร์มที่ปลูกในโรงเรือนที่มีมาตรฐานสูง ความสำเร็จของการทำฟาร์มไฮโดรโปนิกส์ในญี่ปุ่นขึ้นกับการพัฒนาเพื่อเพิ่มผลผลิตพร้อมๆ กับการลดต้นทุนการผลิต

เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com

วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

ผักไฮโดรโปรนิกส์ คืออะไร



          ผักไฮโดรโปรนิกส์ คือ การปลูกผักโดยไมใช้ดิน หมายถึง การปลูกผักที่เลียนแบบการปลูกบนดิน โดยการปลูกพืชลงบนวัสดุปลูกหรือไม่ต้องมีวัสดุปลูกก็ได้ เพื่อให้พืชได้รับสารอาหารหรือสารละลายธาตุอาหารพืช (ที่มีน้ำที่ผสมกับปุ๋ยที่มีธาตุอาหารที่พืชต้องการจากทางรากพืช) อันเป็นการปลูกพืชที่เกี่ยวข้องกับการจัดการใน "การผลิตพืชในสภาพควบคุมสิ่งแวดล้อม ( Controlled Environment Agricultural Production )" ที่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของพืช ( Growth and Development ) และสิ่งแวดล้อม ( Environment )

          การปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินหรือไฮโดรโปนิกส์ เป็นวิธีการที่พัฒนาขึ้นในประเทศพัฒนาซึ่งมีปัญหาพื้นที่ทำการเกษตรลดลงเนื่องจากการเจริญเติบโตของชุมชน หรือพื้นที่ที่มีอยู่ไม่เหมาะสมต่อการทำการเกษตร เป็นวิธีที่ไม่ใช้ดินเป็นวัสดุปลูก แต่พืชจะเจริญเติบโตโดยได้รับธาตุอาหารจากสารละลายธาตุอาหาร การปลูกพืชโดยวิธีนี้จึงสามารถทำได้ในทุกพื้นที่แม้จะไม่มีที่ดินสำหรับปลูกพืชหรือพื้นที่ดินที่มีอยู่ไม่สามารถใช้ปลูกพืชได้ ในปัจจุบันไฮโดรโปนิกส์เป็นวิธีการปลูกพืชที่ใช้แพร่หลายในประเทศต่างๆ เช่น ไต้หวัน ญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ อิสราเอล และประเทศต่างๆ ในทวีปยุโรป สำหรับประเทศไทยมีความเข้าใจกันโดยทั่วไปว่าการปลูกพืชด้วยวิธีนี้เป็นวิธีที่ต้องลงทุนสูงและมีวิธีการยุ่งยากซับซ้อน ต้องใช้เทคโนโลยีขั้นสูง ประกอบกับปัญหาขาดแคลนพื้นที่ทำการเกษตรยังไม่รุนแรงนัก ยังมีพื้นที่ทำเกษตรกรรมมากมาย สามารถปลูกพืชด้วยวิธีปกติได้เพียงพอกับความต้องการ จึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องหาวิธีการอื่นมาทดแทน อย่างไรก็ดีในระยะ 5 ปีที่ผ่านมา ได้มีการปลูกพืชโดยวิธีไฮโดรโปนิกส์เป็นการค้าเพื่อผลิตพืชผักที่มีคุณภาพในปริมาณที่แน่นอน สนองความต้องการของซุปเปอร์มาร์เก็ต ตลาดพืชผักปลอดภัยจากสารพิษ การปลูกพืชทดแทนพืชนำเข้า และปลูกเพื่อการส่งออก

เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com

วันศุกร์ที่ 2 เมษายน พ.ศ. 2553

ชุดปลูกผัก Hydro Hobby Set

เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com


สุขภาพดี
คุณปลูกทานเองได้ที่บ้าน

การปลูกผักไม่ใช่เรื่องที่ยุ่งยากอีกต่อไปเราพัฒนาระบบชุดปลูกผักไร้ดินให้มีขนาดที่เหมาะกับการปลูกเป็นไม้ประดับในบริเวณบ้านหรือคอนโดมิเนียมได้ แต่ยังคงให้ผลผลิตที่สมบูรณ์สม่ำเสมอ เป็นวิธีง่ายๆ ในการปลูกผักที่ สด สะอาด ปลอดสารพิษตกค้าง 100 % ที่สามารถรับประทานได้อย่างมั่นใจด้วยมือของผู้รักสุขภาพเช่นคุณ


ชุดปลูกผัก Hydro Hobby Set
ได้ผลผลิตที่สด สะอาด ปลอดภัยไร้สารพิษ สีสันดูน่ารับประทาน รสชาติดี ปลูกง่าย ไม่ยุ่งยาก ใช้เนื้อที่น้อย ให้ผลผลิตสูง ปลูกได้ทุกที่ที่มีแดดส่องไม่ต้องรดน้ำ พรวนดิน ประหยัดน้ำ ประหยัดไฟ ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

ตัวอย่างชุดปลูกผัHydro Hobby Set
ขนาด 1 เมตร (1.00x0.80 เมตร) รอบละ 25 ต้น ประกอบด้วย…

1. รางเปิด NFT ตามความยาวและจำนวนในแต่ละชุดฝาเปิดได้สะดวกในการทำความสะอาด
2. เมล็ดพันธุ์ผักสลัดคละพันธปลูกได้ 1 ปี
3. Nutrient Solution สารอาหาร สูตร A และ B สูตรละ 1 ลิตร
4. ถ้วยตวงสารอาหาร ขนาด 250 cc. 1 ใบ
5. ถ้วยตวงน้ำ ขนาด 1,000 cc. 1 ใบ
6. กระบะเพาะ 1 ใบ
7. pH Drop Test สำหรับตรวจสอบค่า pH ของน้ำ 1 ชุด
8. pH Down สำหรับปรับลดค่าความเป็นกรด-ด่าง ของน้ำ 1 ลิตร
9. Water Pump ปั๊มน้ำ
10. ฟองน้ำ 1 แผ่น (สำหรับเพาะกล้าได้ 96 ต้น)
11. Growing Pot ถ้วยเพาะ 1 ถาด ( 80 ถ้วย)
12. ถังน้ำ ขนาด 40 ลิตร


สนใจรับประทานผักและปลูกผักปลอดสาร
โปรดติดต่อ
จุมพล พรหมวิหาร
โทร. 086 549 0198
E-Mail : fafreshfarm@gmail.com