วันพฤหัสบดีที่ 22 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

โรงเรียนทับกฤชพัฒนา อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์

เมื่อวันอาทิตย์ที่ 18 กรกฎาคม 2553 ผมได้ไปติดตั้งชุดปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ Hydro Hobby Set 105RN จำนวน 5 ชุด และอบรมการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ให้กับคณะนักเรียนโรงเรียนทับกฤชพัฒนา อ.ชุมแสง จ.นครสวรรค์ ซึ่งต้องขอขอบพระคุณคณะอาจารย์และนักเรียนซึ่งให้การต้อนรับผมเป็นอย่างดีมา ณ ที่นี้ด้วยครับ




วันพฤหัสบดีที่ 8 กรกฎาคม พ.ศ. 2553

ภาพตัวอย่างลูกค้า

เมื่อวันเสาร์ที่ 17/04/2553 ผมได้ไปติดตั้งชุดปลูก Hydro Hobby Set 108 ให้กับคุณหมีที่รามอินทรา ก.ม. 8 ในซอยคู้บอน ซึ่งเป็นชุดพิเศษสำหรับปลูกผักไทยที่มีระยะห่างระหว่างต้นที่ 10 ซ.ม. แต่ผักสลัดมีระยะห่างระหว่างต้นที่ 20 ซ.ม.จึงได้ดัดแปลงมาจากชุดปลูก Hydro Hobby Set 105 ที่มีรางเปิด NFT ยาว 1 เมตร จำนวน 5 ราง ปลูกผักสลัดได้รอบละ 25 ต้น เป็น Hydro Hobby Set 108 รางเปิด NFT ยาว 1 เมตร จำนวน 8 ราง โดยเพิ่มจากเดิม 3 ราง ซึ่งสามารถปลูกผักไทยได้ถึง 72 ต้น

คุณหมี (ซอยคู้บอน รามอินทรา ก.ม. 8)
ผมได้แถมต้นกล้าผักสลัดให้ไป 25 ต้น เมื่อเป็นกำลังใจให้กับคุณหมีที่เพิ่งเริ่มต้นในการปลูกผักไฮโดรโปนิกส์ผักไร้ดินปลอดสารครับ ส่วนตัวโครงหลังคาและหัวพ่นหมอก 1 หัว ที่เห็นเป็นออฟชั่นเพิ่ม ลูกค้าสามารถนำแบบไปติดตั้งเองก็ได้หรือจะให้ทาง ฟ้า เฟรช ฟาร์ม ติดตั้งให้ก็ได้ครับ ขอแค่ค่าอุปกรณ์เท่านั้นก็พอครับ

คุณศรชัย (พัทยา)

คุณเดชและคุณอัยนา (บึงกุ่ม)

ผักไฮโดรโปนิกส์ปลอดภัยจริงหรือ?

          เรื่องความปลอดภัยของการบริโภคผักที่ปลูกในสารละลายธาตุอาหาร เป็นสิ่งที่ถูกถามกันมากคำถามหนึ่ง ด้วยความกังวลที่ว่าผักที่ปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์นี้ต้องแช่หรือสัมผัสกับสารละลายธาตุอาหารซึ่งจัดเป็นสารเคมีอย่างหนึ่งอาจดูดเคมีนั้นขึ้นไปสะสม เมื่อผู้บริโภครับประทานเข้าไปอาจทำให้เกิดโรคภัยไข้เจ็บได้หรือไม่

          โดยเฉพาะอย่างยิ่งมักจะนำไปเปรียบเทียบกับการปลูกพืชในดินแบบให้ปุ๋ยอินทรีย์ (ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยพืชสด หรือปุ๋ยคอก) แต่ในความเป็นจริงแล้ว พืชเป็นสิ่งมีชีวิตที่ดูดกินอาหารผ่านทางรากในรูปของแร่ธาตุที่อยู่ในรูปของอิออน หรือ ประจุ (ion) เท่านั้น ซึ่งมีทั้งธาตุประจุบวก ได้แก่ NH4+, K+, Ca+2, Mg+2 , Fe+2 เป็นต้น และธาตุประจุลบ ได้แก่ NO3-, SO4-2, H2PO4-, BO3-3

          ดังนั้น แม้ว่าเราจะปลูกพืชลงในดินแล้วทำการให้ปุ๋ยหมัก ปุ๋ยคอก ปุ๋ยนั้นจะยังไม่เป็นประโยชน์ต่อพืชจนกว่าจะถูกการย่อยสลายโดยจุลินทรีย์ในดินจนกระทั่งเปลี่ยนเป็นแร่ธาตุต่างๆที่แตกตัวเป็นอิออนละลายอยู่ในน้ำในดิน หรือจนกว่าปุ๋ยเคมีเม็ด นั้นจะแตกตัวละลายกลายเป็นแร่ธาตุอยู่ในสารละลายดินเช่นกัน รากพืชจึงดูดไปใช้ได้

          สรุปก็คือ ไม่ว่าเราจะปลูกพืชในดินหรือในสารละลาย พืชก็ดูดใช้อาหารในรูปของประจุของแร่ธาตุ (ซึ่งบางคนเรียกว่าเป็นเคมี) เหมือนๆกัน ก่อนที่แร่ธาตุเหล่านั้นจะถูกพืชนำไปใช้สร้างสารประกอบอินทรีย์โมเลกุลใหญ่อื่นๆ ได้แก่ เป็นแป้ง โปรตีน ไขมัน วิตามิน ต่างๆ ให้มนุษย์นำมารับประทานอีกที ดังนั้น หากเราไม่กังวลที่จะรับประทานผักที่ปลูกจากดินและใส่ปุ๋ยอินทรีย์ เราก็ไม่ควรที่จะกังวลกับการบริโภคผักที่ปลูกในสารละลาย เช่นกัน

          ส่วนเรื่องการสะสมของไนเตรทที่เป็นอนุมูลของไนโตรเจนที่มีอยู่มากในสารละลาย ก็เป็นอีกเรื่องหนึ่งที่มักมีผู้สงสัย ไนเตรทเป็นอนุมูลไนโตเจนที่พืชต้องการและดูดใช้มากในช่วงพัฒนาด้านลำต้น กิ่งใบ หากเราเก็บเกี่ยวพืชที่ยังอยู่ในช่วงกำลังพัฒนาทางด้านลำต้นอยู่ ไม่ว่าจะปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ หรือปลูกในดิน ก็จะต้องพบว่ามีไนเตรทอยู่บ้างไม่มากก็น้อย แต่หากมีไม่เกิน 2500-3000 มก.ต่อ 1 กก น้ำหนักสดของผัก ก็ยังถือว่าปลอดภัยครับ

          เคยมีรายงานว่าพบการสะสมไนเตรทในระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคทั้งการปลูกในสารละลาย (วุฒิพงษ์, 2545: ปัญหาพิเศษปริญญาโท มก) และที่ปลูกในดิน (Patcharaporn et al., 2001 : Thai J. Agric. Sci 35(3) )

          ดังนั้นปริมาณการสะสมไนเตรทจึงไม่ได้ขึ้นกับว่าปลูกในอะไร แต่น่าจะขึ้นกับว่าปลูกอย่างไร กรณีปลูกในสารละลาย ปริมาณการสะสมไนเตรทในต้นพืชขึ้นกับความเข้มข้นของอนุมูลไนเตรทที่อยู่ในสารละลายที่ใช้ปลูกพืช และอัตราการใช้อนุมูลไนเตรทของพืชที่นำไปเปลี่ยนเป็นกรดอะมิโนกลูตามินซึ่งต้องใช้โมเลกุลของน้ำตาลที่มาจากการสังเคราะห์แสงร่วมด้วย

          ข้อดีประการหนึ่งของประเทศไทยคือที่มีแสงแดดจัด พืชจึงอัตราการสังเคราะห์แสงจึงค่อนข้างสูง ทำให้อัตราการเปลี่ยนแปลงไนเตรทเป็นกรดอะมิโนกลูตาเมทเกิดขึ้นค่อนข้างเร็ว และในการปลูกแบบไฮโดรโพนิกส์ ในการปลูกที่ดีต้องมีการควบคุมระดับความเข้มข้นที่เหมาะสมทุกๆวัน ถ้าพืชมีการจริญเติบโตและสังเคราะห์แสงที่เป็นปกติโอกาสที่จะเกิดการสะสมไนเตรทจนถึงระดับที่ไม่ปลอดภัยต่อการบริโภคจึงไม่น่าเกิดขึ้น และยังสามารถลดไนเตรทก่อนเก็บเกี่ยวได้ง่ายๆ โดยการงดให้ธาตุอาหาร 1 -2 วัน ก่อนเก็บเกี่ยว ในทางกลับกันการปลูกในดินกลับควบคุมได้ยากกว่า ครับ

ผู้เขียน : ผู้ช่วยศาสตราจาย์ ดร.ธรรมศักดิ์ ทองเกตุ
รองประธานชมรมปลูกพืชโดยไม่ใช้ดินแห่งประเทศไทย


เข้าสู่ระบบร้านค้า www.fafreshshop.com